วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
เวลาเรียน 8.30-12.20


การเรียนการสอนวันนี้ 

กรอบมาตรฐานการเรียนคณิตศาสตร์











สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ

ใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ การอ่านและการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก และตัวเลขไทย
การเปรียบเทียบจำนวน การเรียงลำดับ  จำนวน การคิด และการแยกกลุ่ม 






สาระที่ 2 : การวัด

เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา







การตวงเพื่อวัดปริมมาตร  การชั่งของเด็กจะไม่มีหน่วย แต่เป็นการเปรียบเทียบความหนัก
หรือความเบา รู้จักค่าของเงินเหรียญ แลัธนบัตร บอกช่วงเวลาในแต่ละวัน ชื่อวัน ในสับปดาห์
และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน  เช่น วันนี้ พรุ้งนี้ เมื่อวาน 


สาระที่ 3 : เรขาคณิต


สาระที่ 4 : พีชคณิต

สาระที่5 : การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น 

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 



กิจกรรมวันนี้ 


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

สามารถนำรูปทรงเลขาคณิตต่างๆมาประยุกต์ใช้เป็นเกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ฝึกการคิดและจินตนาการเกี่ยวกับการต่อยอดจากรูปทรงเลขาคณติ


การบันทึกอนุทินครั้งที่ 5




วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นวันพ่อแห่งชาติ
 5 ธันวาคม 2556


วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
เวลาเรียน 8.30-12.20

การเรียนการสอนวันนี้

วันนี้อาจารย์ให้ทุกกลุ่มนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำแล้วนะเสนอหน้าห้องเรียน มีทั้งหมด 5กลุ่มและอาจารย์ก็แจกใบประเมินเพื่อนๆและให้คะแนนแต่ละกลุ่มด้วย

มีทั้งหมด 5 กลุ่มดังนี้

1.จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด (กลุ่มของเราเอง ^^)
3. พีชคณิต
4.เรขาคณิต
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



วันนี้ทุกกลุ่มได้เตรียมสิ่งที่ตัวเองได้รับมอบหมายมานำเสนอครบทุกกลุ่มเลยมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองได้รับกันทุกคนมีการแบ่งหน้าที่การทำงานทุกคนค่ะ


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้

-วันนี้อาจารย์ได้แนะนำเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอรายงายว่าเราควรเพิ่มเติมอะไรไปบ้าง
       -กลุ่มของเราต้องไม่อ่านโพยกระดาษจนมากเกินไปควรเตรียมตัวมาให้พร้อมกว่านี้
       -พูดให้ช้าและชัดกว่านี้หน่อยเพื่อนบอกว่าเราพูดเร็วเกินไป (พอดีพึ่งไปถอนฟันมา 555)
-ได้ทักษะการทำเพาเวอร์มากขึ้นจากการที่เราได้ดูของเพื่อนๆ ภาพเคลื่อนไหวก็ไม่ควรใส่จนมากเกินไป
  เพราะมันจะดึงความสนใจจากเนื้อหาสะมากกว่าสวยงาม
-ต้องมีการร่วมมือช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม
-และต้องใจฟังเพื่อนๆรายงานน่าห้องมากกว่านี้เพราะนั่งข้างหลังเพื่อนๆชอบคุยกันเลยพาให้ฟังเพื่อนไม่รู้เรื่อง 


วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
เวลาเรียน 8.30-12.20


  การเรียนการสอนของวันนี้

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 - สอนให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 - สอนพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 - สอนให้เด็กรู้จักหาคำตอบ

ทักษะพื้นฐาน

 1.การสังเกต
   - การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่าง
2. การจำแนกประเภท
   - การแบ่งสิ่งของโดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์
3. การเปรียบเทียบ
4. การจัดลำดับ
   - เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
5. การวัด
   - มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
   - การวัดสำหรับเด็กปฐมวัยได้แก่ การวัดอุณหภูมิ  เวลา ระยะทาง  ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
6. การนับ
   - เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมายการนับท่องจำนี้
7. รูปทรงและขนาด
   - เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เรื่องรูปทรงก่อนเข้าเรียน

คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์


เลข -  น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
ขนาด - ใหญ่  คล้าย  สองเท่า  ใหญ่ที่สุด  สูง เตี้ย
รูปร่าง -  สามเหลี่ยม  วงกลม  สี่เหลี่ยม  ยาว  โค้ง  สั้นกว่า


    
กิจกรรมวันนี้

อาจารย์ให้นักเรียนวาดวงกลม 1 วงแล้วเขียนเลยที่ตัวเองชอบลงไปในวงกลม แล้วแจกกระดาษสีคนละ 1 แผ่น จากนั้นให้ตัดเป็นกลีบดอกไม้ตามจำนวนตัวเลขที่เขียนในวงกลมและตกแต่งให้สวยาม
                                                           


ความรู้ที่ได้รับและการประยุกต์ใช้

-ได้รู้ว่าจุดมุ่งหมายทางคณิตศาสตร์ต้อมมีอะไรบ้าง
-ทักษะทางคณิตศาสตร์พื้นฐานนั้นเป็นอย่างไร
-คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กนั้นมีอะไรบ้าง
-ได้รู้จักการนำตัวเลขมาประยุกต์ใช้ให้เชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆอย่าสนุกสนาน





การบันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

 
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
เวลาเรียน 8.30-12.20

                                                         การเรียนการสอนวันนี้

อาจารย์สอนวันนี้เกี่ยวกับเรื่อง

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะ อาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์

ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ  RAGET

1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสแรกเกิด - 2 ปี
  - เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
  - สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ของลักษณะของวัตถุได้
2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล 2-7 ปี
  - ใช้ภาษาพูด แสดงความรู้ ความคิด
  - เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
  - เด็กในวัยนี้จำให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
  - ไม่สามารถคงความคิดสภาพเดิมไว้ได้เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง

การอนุรักษ์  (Conservation )

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
- โดยการนับ
- การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
- การเปปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
- การจับกลุ่ม
- การเรียงลำดับ

หลักการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กฐมวัย

- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น
- ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์เข้ากับชีวิตประจำวัน



  กิจกรรมวันนี้

      อาจารย์ให้วาดรูปสัตว์ต่างๆ อะไรก็ได้ตามใจชอบ จากนั้นก็
ให้กระดาษสีมาคนละแผ่น และให้นำกระดาษสี
มาทำเป็นรองเท้าให้กับรูปสัตว์ที่เราวาด ดังรูปภาพด้านล่างนี้ ^^ 
                                                   


ความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้

-รู้ว่าขั้นพัฒนาของเด็กมีอายุเท่าไหร่เหมาะกับการพัฒนาแบบไหน
-การพูดคุยกับเด็กในการเรียนการสอนว่าเราควรมีการสนทนากับเด็กอย่างไรบ้าง
-การจะสอนให้เด็กรู้จักตัวเลขนั้นเราควรจะสอนในแบบใดเด็กถึงจะจำแล้วสามารถเข้าใจได้อย่างแท้จริง

การเรียนวันนี้ทำให้ได้รู้เทคนิคการสอนต่างๆมากมายและสามารถ
นำกิจกรรมที่ทำวันนี้ไปใช้กับเด็กได้จริง


วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การบันทึกอนุทินครั้งที่ 1


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจาย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น
เวลาเรียน 8.30-12.20

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1


ในการเรียนวันนี้วันแรก  อาจารย์ชี้แจงเกี่ยวกับรายวิชาที่เราต้องเรียนว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
วิชาที่เราเรียนคือ วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้อธิบาย
เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ พัฒนาการการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ว่าเป็นอย่างไร และมีข้อตกลงกับนักเรียนว่าเวลาเรียนวิชานี้ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

- มาเรียน เลทได้ ไม่เกิน 15 นาที ถ้ามาหลังจากนี้ถือว่าสาย
- ต้องมีเวลาเรียน ไม่ต่ำกว่า 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด
- งานที่ได้รับมอบหมายควรส่งตรงเวลาที่กำหนด
- ปฏิบัติตัวเป็นนักศึกษาครูปฐมวัยที่ดี 
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย 
                                                                                                        
 กิจกรรมวันนี้

                       อาจารย์ ให้ทำ MY MAP  เกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วัดความรู้เดิมของเราว่า มีความรู้เกี่ยวกับวิชานี้มากน้อยแค่ไหน


  
 


ความรู้และการนำไปใช้

- ได้ความรู้เพิ่มเติมจากพื้นฐานความรู้เดิมของเราเอง
- ได้รู้ว่าการที่จะสอนเด็กอนุบาลเราควรสอนเค้าด้วยคณิตศาสตร์แบบไหน
   เช่นการใช่เกมเป็นสื่อการสอน
- การจะเรียนได้ดีนั้นควรแบ่งแยกเวลาให้เป็น